ไข้น้ำนมในสุนัข

Eclampsis หรือโรคไข้น้ำนมในสุนัข

โรคไข้น้ำนมหรือเรียกว่าเป็นภาวะมีแคลเซียมในกระแสเลือดต่ำ เป็นภาวะฉุกเฉินยิ่ง โดยมักพบในสุนัขมากกว่าในแมว มักแสดงอาการเด่นชัดที่กล้ามเนื้อทั่วร่างกาย สั่น หอบ ตากระตุกและเดินไม่สัมพันธ์กัน ส่งผลให้มีอุณหภูมิสูงตามมาจากการสั่นของกล้ามเนื้อ โดยมักจะพบในสุนัขหลังคลอดลูกแล้วที่ให้น้ำนมในปริมาณมาก ก็จะสูญเสียแคลเซียมในร่างกายไปกับน้ำนมด้วย

อาการ : กล้ามเนื้อกระตุก สั่น หอบ ชักเกร็ง เดินไม่สัมพันธ์กัน มีไข้สูงอาจถึง 106 องศาฟาเรนไฮต์

สาเหตุ : ภาวะแคลเซียมในกระแสเลือดต่ำเนื่องจาก

– ภาวะขาดสารอาหาร
– ปริมาณอัลบูมินในกระแสเลือดต่ำ
– โรคที่เกี่ยวกับต่อมพาราไทรอยด์
– ให้น้ำนมในปริมาณมาก แม่สุนัขที่มีลูกปริมาณมากความต้องการน้ำนมจึงมากขึ้นตามไปด้วย ในวันที่สิบถึงสามสิบของการให้นม ความสามารถในการปรับระดับแคลเซียมในกระแสเลือดของแม่สุนัขจะน้อยลง แต่ลูกสุนัขก็มีความต้องการและความสามารถในการดูดนมในปริมาณมากขึ้น ทำให้แม่สุนัขไม่สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอ ทำให้ระดับแคลเซียมในกระแสเลือดต่ำลง ซึ่งโดยปกติแล้วแคลเซียมมีความสำคัญต่อการส่งผ่านของกระแสประสาท และการบีบตัวของกล้ามเนื้อ ดังนั้นจึงเกิดความผิดปกติขึ้นกับกล้ามเนื้อเมื่อระดับแคลเซียมต่ำ

การรักษา :
1. ให้แคลเซียมกลูโคเนตเข้าเส้นเลือดช้าๆด้วยความระมัดระวัง หากให้มากเกินอาจส่งผลให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ บ่อยครั้งที่อาจต้องทำ ECG ร่วมด้วยเพื่อเฝ้าระวังดูอัตราการเต้นหัวใจและความดันเลือด
2. ให้เดร็กโตสเพื่อเป็นแหล่งพลังงาน หลังจากการกระตุก ชักที่กล้ามเนื้อจะใช้พลังงานจากกลูโคสหรือไกลโคเจนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับกลูโคสในกระแสเลือดต่ำลงด้วย เราจึงควรให้กลูโคสร่วมด้วย เนื่องจากกล้ามเนื้อสั่นและกระตุกทำให้อุณหูมิในร่างกายสูงขึ้นมาก โดยปกติแล้วอุณหภูมิร่างกายประมาณ 101 ถึง 102 องศาฟาเรนไฮต์ โรคไข้น้ำนมอาจทำให้อุณหภูมิสูงถึง 107 องศาซึ่งอันตรายมากอาจทำให้เกิดการทำลายสมองอย่างถาวรได้
3. อาจให้ยาซึมอย่างอ่อนในกรณีเพื่อช่วยในการคลายกล้ามเนื้อ
4. cool pack ประคบเพื่อลดอุณหภูมิเข้าใกล้ระดับปกติที่สุด

การป้องกัน :
1. ให้อาหารที่มีคุณภาพสูง แต่ไม่มากเกินความต้องการเพื่อเป็นแหล่งของแคลเซียม และวิตามินต่างๆ
2. เราสามารถป้องกันได้โดยการเสริมแคลเซียม ฟอสฟอรัสและวิตามินดี ในช่วงกลางของการตั้งท้องได้ ไม่ควรให้แต่แคลเซียมอย่างเดียว เพราะอาจเกิดความไม่สมดุลของระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสได้ ค่าปกติ ca:p 1.2 : 1
3. แนะนำให้นมผงสำหรับลูกสุนัขแทน
4. ควรหย่านมเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้

3 Responses to “ไข้น้ำนมในสุนัข”


  1. 1 vodkaboy กันยายน 9, 2009 เวลา 11:22 am

    ขอนำเรื่องนี้ไปลงในเวปบอร์ดชิวาวานะค่ะ

    http://vip-chihuahua.com/forums/index.php

  2. 2 นุช กันยายน 10, 2009 เวลา 9:30 pm

    ขอนำข้อมูลไปลงในเวปชิวาว่าคนด้วยยค่า
    http://www.welovechihuahua.com


ส่งความเห็นที่ vodkaboy ยกเลิกการตอบ




หมวดหมู่

Blog Stats

  • 260,912 hits

FFF